Skip to main content

ความเสี่ยง 5 ข้อที่ธุรกิจยานยนต์ควรพิจารณาเมื่อ มีการขยายการดำเนินกิจการ เช่น ความเสียหายทางกายภาพ ความเสี่ยงด้านสัญญา การหยุดชะงักทางธุรกิจและห่วงโซ่อุปทาน ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ทรัพยากรบุคคล

เมื่อบริษัทผลิตรถยนต์ในเอเชียมีการขยายห่วงโซ่อุปทาน พวกเขาต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่ซับซ้อนซึ่งอาจขัดขวางการดำเนินงานได้ เรียนรู้โซลูชันที่เหมาะสมและปกป้องธุรกิจของคุณ
Car autodetailing

เมื่อบริษัทยานยนต์ในเอเชียขยายการดำเนินกิจการ พวกเขาต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่างๆ ที่มีความเชื่อมโยงกันซึ่งอาจทำให้การดำเนินธุรกิจเกิดการหยุดชะงัก

ภาษีศุลกากรล่าสุดที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปกำหนดกำลังส่งผลกระทบต่อภาคยานยนต์ของเอเชียเนื่องจากเป็นการจำกัดการกระจายตลาดที่เป็นไปได้ในตะวันตก1 นอกจากภาษีแล้ว บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงในภูมิภาค โดยเฉพาะผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่กำลังกระตุ้นการลงทุนและการกระจายไปยังตลาดทางเลือก เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการลงทุนจัดตั้งโรงงานใหม่ไปจนการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับประเทศต่างๆ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยและอินโดนีเซีย2

สร้าง หรือ ซื้อกิจการ

สำหรับธุรกิจยานยนต์ที่เลือกที่จะเพิ่มกำลังการผลิตผ่านการเข้าซื้อกิจการ ความเสี่ยงในการทำธุรกรรมเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่จำเป็นต้องมีการคุ้มครองผ่านประกันภัยการรับประกันและการชดใช้ค่าเสียหาย (Warranty and Indemnity) ในกรณีที่มีการสร้างโรงงานใหม่ ควรต้องมีการพิจารณาความเสี่ยงทั้งในระยะการก่อสร้างและการดำเนินงาน ทั้งนี้ความเข้าใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง บทบาทของพวกเขา รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นล้วนส่งผลต่อการจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพตลอดระยะเวลาทั้งโครงการ

  • ผู้รับเหมา วิศวกรรมและการจัดซื้อ (C): มีส่วนร่วมในการก่อสร้างและการตั้งโรงงานผลิตใหม่ ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่สร้างโรงงานผลิตใหม่จะมีการว่าจ้างบริษัทก่อสร้าง ผู้จัดหาอุปกรณ์ วิศวกรและที่ปรึกษามืออาชีพ
  • ผู้ดำเนินการ (O): ดูแลและจัดการการดำเนินงานในแต่ละวันของโรงงานผลิต รวมถึงห่วงโซ่อุปทาน
  • ผู้ให้การสนับสนุนด้านเงิน (F): สถาบันการเงิน  การระดมทุนผ่าน Private Equity สิทธิประโยชน์หรือนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการต่างๆ

การลดความเสี่ยงทั้งในระยะการก่อสร้างและการดำเนินงาน

ธุรกิจยานยนต์เผชิญกับความเสี่ยงหลัก 5 ประการในขั้นตอนการก่อสร้างและการดำเนินงานเมื่อมีการตั้งโรงงานใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ความเสี่ยงทางกายภาพ (เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม ความร้อน แผ่นดินไหว) ความเสี่ยงทางสัญญา ความเสี่ยงจากการหยุดชะงักของธุรกิจและห่วงโซ่อุปทาน ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร

ในปี 2023 เอเชียเป็นภูมิภาคที่ประสบภัยพิบัติมากที่สุดในโลก3 เหตุการณ์สภาพอากาศที่เลวร้ายสามารถก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อโรงงานผลิต ในปี 2020 โรงงานผลิตรถยนต์ 20 แห่งในประเทศไทย4 ซึ่งมีกำลังการผลิตประมาณ 10% ของการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ทั้งหมดของประเทศ ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

สำหรับความเสี่ยงทางกายภาพในขั้นตอนการก่อสร้าง กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด (C, O, F) จำเป็นต้องพิจารณาผลกระทบของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าของการก่อสร้างและการพิจารณาการดำเนินธุรกิจในอนาคต ไม่เพียงแต่เจ้าของต้องมั่นใจว่าการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่เป็นไปตามกฎระเบียบมาตรฐานขั้นต้นในระดับท้องถิ่น แต่ยังต้องคำนึงถึงมาตรฐานสากลที่มีความเข้มงวดกว่า เช่น NFPA และ FM Global ในกรณีของเทคโนโลยีใหม่ แนะนำให้มีการปรับกระบวนการตรวจสอบการออกแบบควบคู่ไปกับการประเมินความเสี่ยงเชิงวิศวกรรมเพื่อระบุอันตรายของการออกแบบที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม คนงานและสาธารณะ ซึ่งการตรวจสอบนี้จะช่วยประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและเป็นการประเมินความเสียหายสูงสุด (Estimated Maximum Losses  หรือ EMLs) อันเนื่องมาจากการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวก และช่วยให้เจ้าของสามารถตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูล

นอกจากนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ามีความคุ้มครองเพียงพอ องค์กรจึงต้องมีการประเมินความเสี่ยงอย่างแม่นยำผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางกายภาพ (Physical Risk Modeling) โดยที่ปรึกษาด้านความเสี่ยง และมีการจัดทำความคุ้มครองของประกันภัยที่เหมาะสมเป็นลำดับถัดไป ทั้งนี้ความเสี่ยงในการก่อให้เกิดมลพิษหรือความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมระหว่างการก่อสร้างมักจะสูงกว่าในช่วงการดำเนินธุรกิจตามปกติของสถานที่ การรั่วไหลของเชื้อเพลิงหรือการปล่อยน้ำในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นอาจส่งผลให้เกิดการเรียกร้องค่าเสียหายจากหน่วยงานที่กำกับดูแลหรือบุคคลภายนอก หรืออาจมีการเรียกร้องการทำความสะอาดตามมาในภายหลัง ประกันภัยความรับผิดจากมลพิษของผู้รับเหมาก่อสร้างสามารถใช้เพื่อประกันความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อทรัพย์สินและการหยุดชะงักทางธุรกิจ (Property Damage and Business Interruption หรือ PDBI) ในระยะของการดำเนินธุรกิจจาก Marsh Asia แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการได้รับการคุ้มครองที่เพียงพอต่อความเสี่ยงทางกายภาพ โดยในช่วงเวลาเพียงหนึ่งปีจาก 2022 ถึง 2023 จำนวนการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของประกันภัยทรัพย์สินและประกันธุรกิจหยุดชะงัก (Property Damage และ Business Interruption หรือ PDBI) ในเอเชียเพิ่มขึ้น 18%

โดยธุรกิจแต่ละแห่งไม่ว่าจะเป็นในภาคอุตสาหกรรมใดก็ตามต่างมีเอกลักษณ์ รูปแบบการดำเนินงาน และลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไป เช่น ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ โครงสร้างพื้นฐานหรือสาธารณูปโภคที่มีการใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน รวมไปถึงการสูญเสียจากการหยุดชะงักทางธุรกิจได้

ด้วยความถี่และความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นของภัยพิบัติทางธรรมชาติ การประกันภัยแบบดั้งเดิมอาจไม่เพียงพอที่จะคุ้มครององค์กรจากความสูญเสียเนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ (Natural Catastrophe หรือ Nat Cat) ในกรณีนี้การประกันภัยแบบพาราเมตริก (Parametric Insurance) เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเติมเต็มช่องว่างความคุ้มครองของประกัน PDBI โดยประกันแบบพาราเมตริกจะให้ความคุ้มครองที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดภัยที่ได้มีการกำหนดไว้ล่วงหน้า เช่น การระบุความเร็วลมหรือระดับปริมาณน้ำฝน เพื่อให้มั่นใจถึงความแน่นอนและประสิทธิภาพของการจ่ายค่าสินไหมเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามเงื่อนไขที่ได้ระบุดังกล่าว

ในขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงเติบโตอย่างรวดเร็วควบคู่ไปกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ธุรกิจที่เข้าสู่ขั้นตอนการก่อสร้างโรงงานผลิตที่ทันสมัยต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางสัญญาที่หลากหลาย

ด้วยแต่ละโครงการมีลักษณะเฉพาะตัว อีกทั้งวิธีการส่งมอบโครงการที่เลือกใช้นั้นล้วนมีทั้งความเสี่ยงที่สามารถรับประกันได้ รับประกันได้บางส่วน และไม่สามารถรับประกันได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องได้รับการประเมินอย่างรอบคอบตลอดระยะเวลาของโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการโอนความเสี่ยงผ่านการประกันภัยเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมที่สุด

สำหรับบริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์ การจัดการความซับซ้อนของสัญญาเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพื่อให้โครงการเสร็จสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ และเมื่อเข้าสู่ระยะของการดำเนินธุรกิจ บริษัทต้องตรวจสอบสัญญาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามข้อผูกพันด้านการประกันภัย มีการจัดสรรความเสี่ยงและข้อกำหนดการชดใช้ค่าเสียหาย

ดังนั้น การทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านความเสี่ยงที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับโซลูชันเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงของผู้รับเหมาตลอดระยะเวลาของโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื่องจากความไม่แน่นอนของห่วงโซ่อุปทาน กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด (C, O, F) ควรมั่นใจว่าโครงการก่อสร้างได้รับการคุ้มครองอย่างเพียงพอด้วยประกันภัยความล่าช้าในการดำเนินงาน (Delay in Start-Up หรือ DSU)

เมื่อเข้าสู่ช่วงการดำเนินกิจการ ธุรกิจยานยนต์ควรสร้างแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ที่ปรับให้เหมาะสมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการจัดการความเสี่ยงในการปฏิบัติการ และควรดำเนินการและทบทวน BCP อย่างสม่ำเสมอ (เช่น การทบทวนเรื่องการหยุดชะงักของธุรกิจ หรือ BI) เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการสำรองสามารถนำมาใช้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดความเสี่ยงใดๆ ขึ้น และเพื่อลดผลกระทบต่อการหยุดชะงักของธุรกิจและห่วงโซ่อุปทาน ตัวอย่างเช่น วิกฤตทะเลแดงได้ส่งผลกระทบขึ้นทันทีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ โดยที่ Tesla และ Volvo Car5 ต้องหยุดการผลิตเนื่องจากการขาดแคลนชิ้นส่วนในปี 2024

เพื่อให้การฟื้นฟูหลังจากเหตุการณ์การหยุดชะงักทางธุรกิจ (เช่น ไฟฟ้าดับ ความล่าช้าในการขนส่ง) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ธุรกิจยานยนต์ยังต้องการการสนับสนุนจากทีมงานที่มีประสบการณ์ด้านการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน โดยทีมงานด้านการบัญชีเชิงนิติวิทยา นักวิเคราะห์ความล่าช้าและฝ่ายบริการด้านการเรียกร้องค่าสินไหมของ Marsh สามารถช่วยองค์กรต่างๆ ในการทบทวนการหยุดชะงักทางธุรกิจเพื่อประเมินความเสียหายให้กับผู้รับประกันภัยอย่างแม่นยำ และนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพผลลัพธ์ของการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

นอกจากนี้ ‘Sentrisk’ ของ Marsh ยังใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น AI มาช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านห่วงโซ่อุปทานและการถ่ายภาพดาวเทียมเชิงภูมิสารสนเทศ เพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ วางแผนห่วงโซ่อุปทานได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น รวมถึงช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถพัฒนากลยุทธ์เพื่อลดความเสี่ยง การโอนย้ายความเสี่ยง และการจัดการที่สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจของพวกเขามากขึ้น

ผู้ผลิตยานยนต์ต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านความรับผิดต่อบุคคลภายนอกอย่างมากทั้งในขั้นตอนการก่อสร้างและการดำเนินงาน ความเสี่ยงเหล่านี้มีตั้งแต่ความรับผิดทั่วไปของบุคคลภายนอกในช่วงระหว่างแต่ละขั้นตอนของการผลิตไปจนถึงความรับผิดต่อผู้ใช้ปลายทาง ทั้งนี้การพัฒนาเทคโนโลยีและกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไปอาจทำให้ธุรกิจยากที่จะจัดหาความคุ้มครองประกันภัยที่เหมาะสม

ปัญหาความรับผิดต่อบุคคลภายนอกมักเกิดขึ้นในช่วงการดำเนินธุรกิจ เจ้าของและผู้ดำเนินการจำเป็นต้องมีความคุ้มครองประกันภัยที่เหมาะสมในรูปแบบของประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (Third Party Liability Insurance) และประกันภัยความรับผิดและการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ (Product Liability and Recall Insurance) เพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขาได้รับการชดเชยจากความรับผิดตามกฎหมาย รวมไปถึงได้รับการชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ โดยที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงและนายหน้าประกันภัยที่เชื่อถือได้นั้นสามารถช่วยระบุช่องว่างที่สำคัญของความคุ้มครองและนำมาบูรณาการปรับใช้เพื่อลดความเสี่ยงด้านความรับผิดต่อบุคคลภายนอกผ่านการศึกษาแนวโน้ม การวิเคราะห์การจัดการการด้านสถานการณ์วิกฤติและการเรียกคืนผลิตภัณฑ์

ในฟิลิปปินส์ สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยถูกจัดให้เป็นความเสี่ยง 10 อันดับแรกจากการศึกษาความเสี่ยงด้านบุคลากรในปี 2024 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการ 'ทำสิ่งพื้นฐานให้ถูกต้อง' เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของแรงงาน ประการแรกและสำคัญที่สุด ผู้รับเหมาและผู้ดำเนินการต้องจัดหาประกันภัยส่วนบุคคลและประกันภัยอุบัติเหตุที่เพียงพอในระหว่างขั้นตอนการก่อสร้าง โดยมีความคุ้มครองที่เป็นไปตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัย

นอกจากนี้ เมื่อมีการลงทุนในสถานที่ใหม่ ๆ อุตสาหกรรมยานยนต์ยังจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ด้านบุคลากรให้เหมาะสมในเรื่องความเท่าเทียมของค่าตอบแทน ความพร้อมของทักษะ รวมไปถึงการโยกย้ายของบุคลากร

จากรายงานแนวโน้มตลาดแรงงานที่มีทักษะศักยภาพสูงทั่วโลกของ Mercer พบว่าความไว้วางใจของพนักงานในเอเชียที่มีต่อองค์กรของพวกเขายังคงลดลง โดยลดลงเกือบ 20% จากปี 2022 ถึง 2024 โดยมีพนักงาน 3 ใน 10 คนวางแผนที่จะลาออกใน 12 เดือนข้างหน้า นายจ้างในเอเชียจึงเผชิญกับความท้าทายในการรักษาพนักงาน บริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์จึงควรพิจารณาดำเนินการสำคัญ เช่น การส่งเสริมการพัฒนาเพื่อยกระดับทักษะและสร้างทักษะใหม่ ส่งเสริมความเท่าเทียมด้านค่าตอบแทนและเสนอสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพที่ครอบคลุมมากขึ้นเพื่อสร้างความไว้วางใจและรักษาพนักงานที่มีความสามารถเอาไว้

ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญสำหรับการขยายธุรกิจและกระจายความเสี่ยงของธุรกิจยานยนต์: สิ่งที่ควรพิจารณา

การจัดการความเสี่ยงสำหรับการขยายธุรกิจใหม่อาจซับซ้อน รายการด้านล่างนี้แสดงตัวอย่างของข้อควรพิจารณาสำคัญที่ธุรกิจยานยนต์ในเอเชียต้องพิจารณาเมื่อมี
แผนกระจายและขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ

Marsh Asia: สามารถช่วยสนับสนุนความสำเร็จในการขยายธุรกิจยานยนต์ในเอเชีย

แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านยานยนต์ของ Marsh Asia ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ควบคู่ไปกับความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ความสามารถด้านวิศวกรรม ความเชี่ยวชาญในการก่อสร้างและเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลกเพื่อมอบโซลูชันที่ไร้รอยต่อ ในขณะเดียวกันเราทำงานร่วมกับบริษัทประกันภัยเพื่อขยายขีดความสามารถด้านประกันภัยทั่วโลก เพิ่มความโปร่งใสและสร้างสรรค์โซลูชันนวัตกรรมสำหรับธุรกิจยานยนต์นวัตกรรมสำหรับธุรกิจยานยนต์

เราขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาดังนี้ ผู้ผลิตแบตเตอรี่ยานยนต์จากญี่ปุ่นรายหนึ่งต้องการการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการภายในระยะเวลาที่จำกัด แต่ขาดผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินการสอบทานธุรกิจ (Due diligence) และการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านธนาคาร กฎหมายและการบัญชี ทั้งนี้ Marsh Asia ได้เข้ามาช่วยในการตรวจสอบด้านประกันภัย อำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละภูมิภาค (ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา) และได้มีการตอบสนองต่อข้อซักถามอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังได้จัดทำประกันภัยความเสี่ยงในการติดตั้งเครื่องจักร (Erection All-Risk) เพื่อคุ้มครองงานติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับการปรับปรุงโรงงาน ส่งผลให้ผู้ผลิตสามารถบรรลุเงื่อนไขการกู้ยืมได้สำเร็จและได้รับการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการภายในระยะเวลาที่กำหนด พร้อมทั้งมั่นใจได้ว่ามีความคุ้มครองประกันภัยที่คุ้มค่าและเพียงพอสอดคล้องความเป็นจริงทางการค้า

คุณกำลังมองหาการประเมินกลยุทธ์สำหรับการขยายกิจการหรือการกระจายความเสี่ยงของคุณอยู่หรือเปล่า?

ติดต่อกับตัวแทนของ Marsh วันนี้เพื่อพูดคุยกับเรา

1 Channel News Asia. (2024). China EV makers to pivot to emerging markets as US, EU hike tariffs. https://www.channelnewsasia.com/east-asia/china-ev-industry-byd-nio-us-eu-tariffs-emerging-markets-4459426

2 East Asia Forum. (2024). Asia ground zero in the revolution of electric vehicle markets. https://eastasiaforum.org/2024/03/19/asia-ground-zero-in-the-revolution-of-electric-vehicle-markets/

3 CNBC. (2024). Asia was most impacted by extreme weather and climate in 2023, UN report shows. https://www.cnbc.com/2024/04/26/asia-most-impacted-by-extreme-weather-and-climate-in-2023-wmo.html

4 Supple Chain Digital. (2020). Thailand flooding impacts automobile supply chain. https://supplychaindigital.com/logistics/thailand-flooding-impacts-automobile-supply-chain

5 Reuters. (2024). Tesla, Volvo Car pause output as Red Sea shipping crisis deepens. https://www.reuters.com/business/autos-transportation/tesla-berlin-suspend-most-production-two-weeks-over-red-sea-supply-gap-2024-01-11/

Please note that Marsh PB Co., Ltd and Marsh McLennan are not engaged by nor involved in any manner with Bonus Ranch and its promotion, and has not placed any insurance for nor insured any of its businesses or operations. Marsh as a licensed insurance broker will not request customers to make payment via non-standard methods, such as the transfer of money to any individual’s bank account.